WordPress Plugin: เพิ่ม Functions ใหม่ ๆ

WordPress Plugin: เพิ่ม Functions ใหม่ ๆ

  • Related Posts Thumbnails(แนะนำ) แสดงบทความที่เนื้อหาใกล้เคียงกับบทความที่กำลังอ่านอยู่ พอคนอ่านบทความนึงจบแล้วจะได้หาอะไรอ่านต่อในเว็บเราง่าย ๆ ครับ แล้วยังแสดงรูปประกอบบทความด้วย ทำให้น่าคลิกมาก ๆ ตัวอย่าง (ดูตรง related)
  • WordPress Popular Posts – อันนี้จะคล้าย ๆ กับปลั๊กอินด้านบนครับ แสดงรูปประกอบบทความได้เหมือนกัน ต่างกันที่ว่าตัวนี้จะเอาไว้ใส่ในส่วน Widget (Sidebar หรือ Footer เว็บ) ส่วนปลั๊กอินด้านบนจะแสดงใต้บทความครับ
  • WP Post Ratings – คนอ่านสามารถให้คะแนนโพสของเราได้ เป็นดาว 1-5 ดวง มีบอกด้วยว่ามีคนให้คะแนนกี่คนแล้ว และคะแนนเฉลี่ยกี่ดาว
  • Contact Form 7 – เอาไว้สร้างแบบฟอร์มสำหรับติดต่อเรา ปรับแต่งได้เยอะ ใช้งานง่าย
  • WordPress Form Manager(แนะนำ) เอาไว้สร้างแบบฟอร์มสำหรับติดต่อ ฟอร์มสมัครสมาชิก หรือฟอร์มแบบต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งยังปรับแต่งได้เยอะ ผมลองใช้แล้วชอบมาก ๆ ครับตัวนี้
  • Better Author Bio – แสดงข้อมูลคนเขียนบทความนั้น ๆ ไว้ใต้บทความครับ แสดงรูป รายละเอียด และลิงค์ไป Twitter, Facebook คล้าย ๆ กล่องแสดงผู้เขียนในเว็บนี้เลย
  • WP Download Monitor – เอาไว้ Upload และจัดการไฟล์สำหรับแจกจ่ายในเว็บเรา โดยตัวนี้จะช่วยนับด้วยว่ามีคนโหลดไปกี่คนแล้ว
  • gTranslate – แปลเนื้อหาในเว็บไซต์เราเป็นอีก 58+ ภาษาโดยอัตโนมัติ ด้วยระบบของ Google Translate
  • WPTouch – เพิ่มธีมสำหรับมือถือ (Mobile Theme) ให้เว็บไซต์เรา ทำให้เวลาคนเข้าเว็บเราด้วยมือถือ เช่น iPhone, Android จะโหลดเร็วขึ้นมาก ๆ
  • Where did they go from here – ตัวนี้จะคล้าย Related post ที่เอาไว้โชว์โพสที่เนื้อหาใกล้เคียงกัน แต่ตัวนี้จะโชว์ว่าคนที่อ่านบทความนี้เค้าอ่านบทความอื่นบทความไหนบ้าง ช่วยเพิ่มทราฟฟิกให้เว็บได้ตรงจุดมากขึ้นครับ (คนเข้าไปอ่านบทความอื่นมากขึ้น)

WordPress Plugin: Social

WordPress Plugin: Social

  • Disqus Comment System(แนะนำ) ระบบคอมเม้นท์สุดเทพ คนตอบสามารถล็อกอินด้วย ID Facebook, Twitter ของตัวเองได้ กด Like/Dislike คอมเม้นท์ ฯลฯ เว็บไซต์ดัง ๆ หลายเว็บก็ใช้ระบบนี้ครับ ตัวอย่าง (เลื่อนลงมาดูตรงกล่องคอมเม้นท์)
  • Facebook Comments – ใครไม่ถูกใจกับ Disqus อยากได้ระบบคอมเม้นท์ที่ซัพพอร์ท Facebook ล้วน ๆ ก็ใช้ตัวนี้เลย สามารถตั้งให้คอมเม้นท์ไปโผล่ในหน้า Profile ของคนคอมเม้นท์ได้ด้วย มีปุ่ม Facebook Like อยู่ด้านบนกล่องคอมเม้นท์ด้วย
  • Facebook Like – สำหรับคนที่อยากใช้ Disqus แล้วก็อยากได้ปุ่ม Facebook Like ด้วย ใช้ปลั๊กอินตัวนี้เลยครับ
  • SexyBookmarks – เพิ่มปุ่มแชร์บทความไปยังเว็บไซต์ดังต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Digg, Delicious แบบง่าย ๆ และดูดี
  • Sociable – เอาไว้เพิ่มปุ่มแชร์บทความไปยังเว็บไซต์ดังต่าง ๆ เช่นกันครับ หน้าตาจะต่างกับตัวข้างบนนิดนึง
  • Twitter @Anywhere Plus – เพิ่มของเล่นจาก Twitter เอาไว้ใส่ในเว็บไซต์เราหลายอย่าง เช่น กล่องทวีต (แบบในเว็บไซต์ Designil.com นี้), ปุ่ม Retweet, ทำให้ชื่อทวิตเตอร์ เช่น @woraperth ในโพส กลายเป็นลิงค์ไป Twitter อัตโนมติ
  • Wickett Twitter Widget – เอาไว้แสดงทวีตใหม่ ๆ จาก Twitter Account ของเราในส่วน Widget (Sidebar, Footer อะไรพวกนี้)
  • WP Greet Box – แสดงกล่องทักทายก่อนเริ่มบทความ คำพูดในกล่องจะเปลี่ยนไปตามต้นทางลิงค์ที่เข้ามา เช่นถ้าคนเข้ามาจาก Google มันก็จะทักว่า Hello Googler หรือถ้าเข้าจากหน้าเว็บเราปกติก็จะขึ้นลิงค์ให้ Subscribe แทน เจ๋งมาก ๆ ครับ

WordPress LaiThai โดยทีมลายไทย

WordPress LaiThai โดยทีมลายไทย

ทีมลายไทยจาก mambo.or.th เปิดตัวโครงการใหม่ wordpress laithai เพื่อสนับสนุนให้คนใช้ wordpress มีภาษาไทยใช้ ทีมลายไทยเลยทำภาษาไทยแจก โดยใช้ได้กับ wordpress 2.5 8 ความสมบูรณ์ 80%

 

* แปลในส่วนของเมนูต่างๆ เป็นภาษาไทย100%
* ส่วนของคำอธิบายเป็นภาษาไทย 80%
* วัน เดือน เป็นภาษาไทย
* ไม่ได้แปลตามดิกชันนารี :P

วิธีการติดตั้งก็ไม่ยากครับ

* 1. สร้างโฟลเดอร์ชื่อ languages ไว้ที่ /wp-content/
* 2. นำไฟล์ th.mo ไปวางไว้ที่/wp-content/languages
* 3. แก้ไขไฟล์ wp-config.php บันทัดที่22 แก้เป็น define (’WPLANG’, ‘th’);

ดาวน์โหลดไฟล์
thai_languages_for_wordpress_2.6

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.mambo.or.th/forum/index.php/topic,3442.0.html, wordpressthai.org

ผลการติดตั้ง และใช้งาน

  • การติดตั้งทำได้ง่ายๆตามที่บอกไว้ แต่ต้องสร้างโฟลเดอร์ languages เพิ่มขึ้นมาใน /wp-content/ แล้วทำการอัพโหลดไฟล์ th.mo ไปไว้ในโฟลเดอร์นี้
  • หลังจากแก้ไขไฟล์ wp-config.php แล้วลองเรียกหน้าเว็บในส่วนผู้ดูแลระบบ พบว่าส่วนของเมนูได้กลายเป็นภาษาไทยแล้ว
  • ลองคลิกหลายๆเมนูดูพบว่าบางส่วนยังไม่ได้แปล ก็อย่างที่ทางทีมงานแจ้งไว้ว่ายังแปลได้ไม่ทั้งหมด แต่ก็คงมีการทยอย Update ออกมาเรื่อยๆ

Theme Toolkit : ปลั๊กอินสำหรับแก้ไขไฟล์แทน Theme Editor

Theme Toolkit : ปลั๊กอินสำหรับแก้ไขไฟล์แทน Theme Editor

ใครที่เคยใช้เครื่องมือ Theme Editor ของเวิร์ดเพรสในการแก้ไขไฟล์ที่เกี่ยวกับของ WordPress theme คงจะต้องปวดหัวบ่อยๆ เพราะเมื่อเปิดไฟล์มาแล้ว จะพบกับคำสั่งขาวดำล้วนๆ ไม่มีเลขบรรทัด ไม่มีสีสันให้เห็นคำสั่งต่างๆ ทำให้หลายๆคนต้องใช้วิธีแก้ด้วยโปรแกรมพวก Editor ต่างๆ แล้วค่อย FTP ขึ้นไปอีกที ทำให้เสียเวลา และเสียสายตาด้วย

แต่ช้าก่อน…. ตอนนี้คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้แล้ว ด้วยปลั๊กอินที่มีชื่อว่า Theme Toolkit นั่นเอง

 

Theme Toolkit คือปลั๊กอินที่เข้ามาทำหน้าที่แทน Theme Editor ของเวิร์ดเพรส ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้ว คุณจะได้เครื่องมือแก้ไขไฟล์ที่มีสีสันเพิ่มขึ้นมาทันที

 

จะเห็นได้ว่าปลั๊กอินตัวนี้ช่วยเพิ่มสีสัน และยังมีหมายเลขบรรทัดเพิ่มมาให้อีกด้วย ต่อไปการแก้ไขหน้าตาของเว็บบล็อกของคุณก็จะง่ายยิ่งขึ้นแล้ว

เว็บไซต์เจ้าของปลั๊กอิน : http://ditio.net/2008/07/19/wordpress-theme-toolkit-plugin/

ดาวน์โหลดปลั๊กอินนี้ : Theme Toolkit version 0.1

หมายเหตุ : จากที่ได้ทดลองใช้งานพบว่ายังมีปัญหา ทำให้ code หายเป็นบางครั้ง โดยเมื่อนำไฟล์นั้นไปเปิดดูด้วย editor กลับมีไม่ครบเหมือนที่เห็นจากในหน้าแก้ไข ซึ่งไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร? แต่ก็คาดว่าคงมีการปรับปรุงปัญหาพวกนี้ในเวอร์ชั่นถัดๆไป เพราะตอนนี้ยังเป็นแค่เวอร์ชั่น 0.1 แค่นั้นเอง

WordPress กับระบบ e-Commerce

WordPress กับระบบ e-Commerce

เว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ในการสร้างนั้น ไม่ได้มีเฉพาะเว็บที่เกี่ยวกับการเขียนบล็อกเท่านั้น ยังมีปลั๊กอินที่ใช้สำหรับระบบ e-Commerce เพื่อขายสินค้าบนเว็บไซต์อีกด้วย นั่นคือปลั๊กอินที่ชื่อว่า WP e-Commerce ซึ่งมีเว็บไซต์ทั่วโลก นำไปใช้งาน มากกว่า 55,000 เว็บไซต์

 

ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด wp-e-commerce.3.6.8RC1.zip รองรับ WordPress 2.6

เวอร์ชั่นเก่า WP e-Commerce 3.5.1 ใช้ร่วมกับ WordPress 2.3x

ดูภาพตัวอย่างการใช้งาน

คุณสมบัติของ WP e-Commerce

WP e-Commerce is a Web 2.0 application designed with usability, aesthetics, and presentation in mind. Perfect for:
» Digital Downloads!
» Bands & Record Labels
» Clothing Companies
» Crafters & Artists
» Books, DVDs & MP3 files
» Members Only / Subscription sitesz
» Stores with over 10,000 + products

Recently added Features
* New – Facebook Integration
* New – Google Checkout Integration
* New – Shipwire Integration
* New – Search Engine Friendly URLs / Permalinks
* Coupons in Marketing options under shop options
* Members Only Module
* Customizable pagination for product listing
* Unlimited products & categories
* AJAX powered Sliding Shoping Cart
* Shop front highlighting for newly added products
* AJAX powered Web 2.0 DropShop – additional gold module
* Grid View – additional gold module
* Fancy AJAX Alerts on Add to Cart
* Purchase history for logged in users
* New and improved Audio Player Module for selling MP3 files
* Chinese Language file
* Share this / Digg Product social networking promo tools
* Downloadable CSV files
* Detailed Purchase Log & Filters
* Configurable Tax settings including USA & Canada
* PayPal IPN
* URL linking to products and images
* RSS product feed widget
* Google Cart

WP e-Commerce Widgets
* AJAX Shopping Cart Widget
* Categories & Brands Widget
* Donations Widget
* Product Specials Widget

เว็บไซต์ผู้สร้างปลั๊กอิน http://www.instinct.co.nz/e-commerce/

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำปลั๊กอินนี้ไปใช้งาน

วิธีการติดตั้ง WordPress Themes

วิธีการติดตั้ง WordPress Themes

WordPress เป็นระบบ Open Source ที่มีธีม Themes ให้เลือกมากมาย ซึ่งสามารถเลือกหาดาวน์โหลดได้ เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะทำการติดตั้งและเลือกใช้งานแล้ว

ตอน 2

How to upload WordPress theme

เขียนบล็อกโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word

เขียนบล็อกโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word

ชาวบล็อกเกอร์ที่ชื่นชอบการเขียนบล็อก แต่บางทีก็ไม่ค่อยชอบใจในเครื่องมือสำหรับเขียนบล็อกที่ทาง WordPress มีมาให้ แต่สำหรับโปรแกรม Microsoft Word แล้ว ใครๆก็สามารถใช้พิมพ์ข้อความ หรือสร้างเอกสารที่ต้องการได้ แล้วคุณทราบหรือไม่ว่า คุณก็สามารถใช้ Microsoft Word
2007 ในการเขียนเนื้อหาแล้วสั่งให้เผยแพร่ (Publish) บนบล็อกของคุณได้ทันที

และบทความนี้ก็เป็นบทความที่เขียนด้วยโปรแกรม Microsoft Word นั่นเอง

ต่อไปชาวบล็อกเกอร์ก็สามารถใช้ Microsoft Word เขียนบล็อกส่วนตัวโดยไม่ต้องเข้าไปใช้ระบบของ WordPress เลย

 

ในส่วนของเนื้อหาด้านบนที่เห็นคือเนื้อหาที่ใช้ Microsoft Word ในการเขียนและสั่งเผยแพร่หน้าเว็บโดยไม่ต้องเข้ามาใช้เครื่องมือของ WordPress เลย ซึ่งเหมาะสำหรับบล็อกเกอร์ทั้งหลายที่หลายๆคนบ่นว่าใช้งานไม่เป็น หรือใช้งานยาก สู้พิมพ์ๆๆๆใน Microsoft Word แล้วแค่กดปุ่ม Publish ก็เรียบร้อยดีกว่า :D

วิธีการใช้งาน

  • เปิดโปรแกรม Microsoft Word 2007 แล้วคลิกที่ปุ่มเมนูด้านซ้ายบน  [1] จะมีรายการเมนูแสดงลงมา ให้คลิกเลือกที่เมนู Publish [2] จะมีเมนูย่อยให้คลิกเลือก Blog [3]

  • เมื่อคลิกเลือกแล้วจะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมาถาม ว่าต้องการให้ทำการลงทะเบียน เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับบล็อกของเราบนเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ คลิกเลือก Register Now เพื่อลงทะเบียน

  • จะมีหน้าต่างใหม่สำหรับให้เลือกประเภทของบล็อกที่จะลงทะเบียน เลือกเป็น WordPress

  • คลิก Next แล้วจะมีหน้าต่างใหม่สำหรับให้กรอกข้อมูล
  • ช่อง Blog Post URL ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์บล็อกที่จะเขียนเรื่อง เช่น
    http://wordpress.108.in.th/xmlrpc.php
  • ใส่ชื่อ User Name และรหัสผ่าน Password แล้วคลิก OK
  • ถ้าหากคลิกปุ่ม Picture Options จะเป็นการตั้งค่าการอัพโหลดรูปภาพ

  • เมื่อคลิก OK แล้ว จะมีหน้าต่างย่อยแสดงให้เห็นว่าได้ทำการลงทะเบียนเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว

  • คลิก OK แล้วโปรแกรมก็จะเปิดหน้าว่างๆขึ้นมาสำหรับให้เขียนเนื้อหา
  1. โดยจะมีคำว่า [Enter Post Title Here] สำหรับให้ใส่หัวข้อของเนื้อหาบล็อกตรงนี้
  2. บริเวณพื้นที่ว่างใต้เส้นจะเป็นส่วนของพื้นที่สำหรับเขียนเนื้อหา ของบล็อก ซึ่งสามารถจัดรูปแบบหน้าตา, ตัวอักษร ตามที่ต้องการตามปกติในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word
  3. เมื่อเขียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกเลือกหมวดหมู่ โดยคลิกที่เมนู Insert Category
  4. จะมีหมวดหมู่เพิ่มขึ้นมาให้เลือก โดยจะตรงกับหมวดหมู่ที่กำหนดในบล็อกที่จะเขียนเรื่อง
  5. เมื่อเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการ และตรวจสอบเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Publish เพื่อส่งเรื่องเข้าไปในบล็อก

  • เมื่อคลิกปุ่ม Publish เรียบร้อยแล้ว จะมีข้อความแจ้งให้รู้ว่าได้ทำการเผยแพร่เนื้อหาบล็อกนี้เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งเนื้อหาที่ได้จะแสดงที่หน้าเว็บตามที่เห็น

ปล. ส่วนของการใส่ภาพประกอบ นำมาเขียนเพิ่มในระบบของ WordPress ซึ่งจริงแ้ล้ว ยังสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมเพื่อให้อัพโหลดรูปภาพเข้ามาแสดงจากโปรแกรม Microsoft Word โดยตรงได้อีกด้วย โดยเมื่อคลิกปุ่ม Picture Options แล้วจะมีหน้าต่างให้ตั้งค่า

วิธีการตั้งค่า

  • ในช่อง Upload URL ให้ระบุโฟลเดอร์เต็มสำหรับเห็บภาพบนเซิร์ฟเวอร์ ในรูปแบบ :
    ftp://user:pass@URL.com/full/path/to/wp-content/uploads
  • ส่วนช่อง Source URL ให้ระบุชื่อเว็บไซต์และตำแหน่งที่เก็บ ในรูปแบบ :
    http://URL.com/wp-content/uploads
  • เมื่อกำหนดเสร็จแล้วคลิก OK

จากนั้นก็สามารถเขียนบล็อกโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ได้แล้ว

ข้อสังเกตจากการทดลองใช้งาน

  • เหมาะสำหรับเขียนบล็อกที่เน้นเนื้อหาอย่างเดียว
  • เหมาะสำหรับคนที่ถนัดใช้งานโปรแกรม Microsoft Word อยู่แล้ว

การตั้งค่า WordPress Permalinks

การตั้งค่า WordPress Permalinks

เมื่อทำการติดตั้งระบบ WordPress เรียบร้อยแล้ว ถ้าลองสังเกตลิ๊งค์ของ URL ของระบบ จะพบว่าลิ๊งค์นั้นอยู่ในรูปแบบของ

http://yourdomain.name/?p=123

ซึ่งปัญหาของการใช้ URL แบบนี้คือ ยากต่อการจดจำ และยังไม่เป็นมิตรกับระบบค้นหาอีกด้วย แต่ WordPress อนุญาตให้เราสามารถที่จะกำหนด URL ให้แสดงได้ตามที่เราต้องการ โดยกำหนดให้แสดงตามหัวข้อเนื้อหา หรือตามวัน-เวลา ซึ่งจะช่วยให้ทั้งเรา และระบบค้นหาหรือ Bot ของ Search engine ต่างๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น

http://yourdomain.name/category/postname.html
หรือ
http://yourdomain.name/year/month/date/sample-post/

 

Hello WordPress!

Hello WordPress!

สำหรับผู้ที่ใช้งาน WordPress ทุกท่าน!

เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์แนะนำการใช้งาน และข้อมูลข่าวสารร้อยแปดเกี่ยวกับโปรแกรม WordPress ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการติดตั้ง, การใช้งาน, การปรับเปลี่ยนหน้าตา รวมถึงการเพิ่มปลั๊กอินต่างๆ

ติดตั้ง WordPress เสร็จแล้วทำอะไรต่อ?

ติดตั้ง WordPress เสร็จแล้วทำอะไรต่อ?

เมื่อติดตั้งโปรแกรม WordPress เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการสร้างรหัสผ่านมาให้ และมีลิ๊งค์ให้เข้าไปใช้งานระบบการจัดการ หรือส่วนของ Administrator

สิ่งที่ควรทำต่อจากนั้นก็คือ

1. ล็อกอินเข้าสู่ระบบแล้วเข้าไปแก้ไขรหัสผ่านก่อน โดยไปที่เมนู Users

  • จะแสดงรายการของผู้ใช้งานระบบ ซึ่งคนแรกคือ admin ปรากฎอยู่
  • คลิกบนชื่อ admin เพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูล
  • จะมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งาน ให้เลื่อนลงมาล่างสุด จะมีช่อง New Password: ให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ตามที่ต้องการ
  • เมื่อเปลี่ยนแล้วคลิก Update Profile เพื่อบันทึกรหัสใหม่ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
  • จากนั้นหากต้องการแก้ไขข้อมูลอื่นๆก็สามารถเลือกแก้ไขได้ตามที่ต้องการ

2. ขั้นต่อมา คือ การแก้ไขชื่อเว็บโดยไปที่เมนู Settings

  • จะแสดงรายละเีอียดต่างๆ โดยแสดงข้อมูลของเมนูย่อยแรก คือ General
  • แก้ไขข้อมูล Blog Title และ Tagline
  • ส่วนของ WordPress address (URL) และ Blog address (URL) ให้ปล่อยไว้ตามเดิม (ไม่ควรไปแตะต้อง เพราะหากระบุผิดพลาด อาจจะทำให้เข้าหน้าเว็บไม่ได้)
  • กำหนด Membership ว่าผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียน หรือต้องล็อกอินก่อนแสดงความเห็นหรือไม่
  • นอกนั้นตั้งค่าตามที่ต้องการ หรือปล่อยไว้ตามเดิมก็ได้
  • ในส่วนของเมนูย่อยอื่นๆ ค่อยปรับแต่งทีหลังได้

3. ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโครงสร้างเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนของหมวดหมู่ Categories
  2. ส่วนของหน้าเนื้อหาคงที่ Pages
  3. และส่วนของเนื้อหาบล็อก Posts
  • การกำหนดส่วนของ Categories ทำได้โดยคลิกที่เมนู Manage จะมีเมนูย่อย Categories อยู่
  • ระบบจะสร้างอันแรกไว้ให้แล้วคือ Uncategories ซึ่งสามารถเข้าไปแก้ไข หรือสร้างใหม่ก็ได้

4. เมื่อกำหนดโครงสร้าง และเนื้อหาของเว็บไซต์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการเลือกรูปแบบหรือธีมของเว็บที่ต้องการ โดยไปที่เมนู Design (WordPress2.5) หรือ Presentation ในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้

  • การปรับเปลี่ยนธีมของเว็บไซต์ จะต้องมีการ Upload theme ที่ต้องการมาไว้ใน directory
    ../wp-content/themes ก่อนจึงจะสามารถเลือกธีมที่ต้องการได้
  • WordPress มีรูปแบบของธีมให้เลือกใช้งานมากมาย สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ WordPress theme directory

5. การเลือกใช้ Plugins และ Widgets เพิ่มเติมต่างๆ ซึ่ีงมีให้เลือกมากมาย เลือกดูได้ที่ WordPress plugin directory

6. การกำหนดค่าในส่วนอื่นๆ เช่น

  • การกำหนด Permalinks สำหรับทำให้ชื่อ URL เหมาะสำหรับระบบค้นหา หรือ SEO
  • การกำหนดจำนวนรายการที่จะแสดงต่อหน้าเว็บ
  • การกำหนดจำนวนรายการสำหรับการปล่อย feed หรือ RSS

7. และอื่นๆที่จะกล่าวถึงภายหลัง